การ ท่องเที่ยว ภูฏาน ทัวร์ ภูฏาน ประเทศ ภูฏาน
โปรดระวัง โดนหลอก บริษัททัวร์ต้มตุ๋น อ่านก่อนตัดสินใจท่องเที่ยวภูฏาน
ประเทศภูฏาน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
ราชอาณาจักรภูฏาน
Kingdom of Bhutan (อังกฤษ)
འབྲུག་ཡུལ་ (ซองคา)
ธงชาติ
คำขวัญ: หนึ่งชาติ,หนึ่งประชาชน
เพลงชาติ: ดรุก เซนเดน
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด) ทิมพู
27°28′N 89°38′E / 27.467°N 89.633°E / 27.467; 89.633
ภาษาทางการ ภาษาซองคาและภาษาอังกฤษ
การปกครอง ประชาธิปไตย ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
- พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก
- นายกรัฐมนตรี จิกมี ทินเลย์
การสร้างชาติ
- ราชวงศ์วังชุก 17 ธันวาคม พ.ศ. 2450
พื้นที่
- รวม 47,500 ตร.กม. (132)
18,340 ตร.ไมล์
- แหล่งน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร
- 2552 (ประมาณ) 672,425 (117)
- 2550 (สำรวจ) 4,598,556
- ความหนาแน่น 45 คน/ตร.กม. (149)
117 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2550 (ประมาณ)
- รวม 3.181 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ[1] (152)
- ต่อหัว 3,330 ดอลลาร์สหรัฐ (124)
เอชดีไอ (2546) 0.536 (กลาง) (134)
สกุลเงิน งุลตรัม (BTN)
เขตเวลา BTT (UTC+6:00)
- (DST) not observed (UTC+6:00)
โดเมนบนสุด .bt
รหัสโทรศัพท์ 975
ภูฏาน (Bhutan) (อ่านว่า พู-ตาน Loudspeaker.svg /buː'tɑːn/ (ข้อมูล)) [2] หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน (Kingdom of Bhutan) [3] เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับจีน
ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul (อ่านว่า ดรุก ยุล) แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon) " นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง" (ในภาษาฮินดี สะกด भूटान ถอดเป็นตัวอักษรคือ ภูฏาน)
ประเทศภูฏาน เป็นประเทศที่ประกาศว่า จะไม่สนใจ GDP (GDP - Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) แต่จะสนใจ GDH แทน (GDH - Gross Domestic Happiness หรือ ความสุขรวมภายในประเทศ) [ต้องการอ้างอิง]
เนื้อหา
[ซ่อน]
* 1 ประวัติศาสตร์
* 2 การเมือง
* 3 การแบ่งเขตการปกครอง
* 4 สัญลักษณ์ประจำชาติ
* 5 ภูมิศาสตร์
o 5.1 ภูมิประเทศ
o 5.2 ภูมิอากาศ
* 6 เศรษฐกิจ
* 7 ทรัพยากรธรรมชาติ
* 8 ประชากร
* 9 วัฒนธรรม
* 10 ศาสนา
* 11 อ้างอิง
* 12 ดูเพิ่ม
* 13 แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้] ประวัติศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2173 ดรุกปา ลามะ ลี้ภัยจากทิเบตสู่ภูฏาน ต่อมาได้ตั้งตัวขึ้นเป็น ธรรมราชา ปกครองครองดินแดนด้วยระบบศาสนเทวราช มีคณะรัฐมนตรีช่วย 4 ตำแหน่ง แม้ภูฏานจะพยายามแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ต่อมาก็ถูกรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะทิเบตอยู่หลายครั้งในช่วง พุทธศตวรรษที่ 22 ถึง 23 ในระยะต่อมาก็ยังถูกรุกรานโดยอังกฤษซึ่งมีอำนาจอยู่ในอินเดียก่อนที่จะได้ เจรจาสงบศึกกัน ในปี พ.ศ. 2453
[แก้] การเมือง
มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้การปกครองโดย สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 5 ของราชวงศ์วังชุก ทรงปกครองประเทศโดยมีคณะองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา และสภาแห่งชาติที่เรียกว่า ซงดู (Tsongdu) ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ประกอบด้วยสมาชิก 161 คน
* สมาชิก 106 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
* สมาชิก 55 คน มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์
ในสมัยศตวรรษที่ 17 นักบวช ซับดุง นาวัง นำเยล (Zhabdrung Ngawang Namgyal) ได้รวบรวมภูฏานให้เป็นปึกแผ่นและก่อตั้งเป็นประเทศขึ้น และในปี 2194 นักบวชซับดุงได้ริเริ่มการบริหารประเทศแบบสองระบบ คือ แยกเป็นฝ่ายฆราวาสและฝ่ายสงฆ์ ภูฏานใช้ระบบการปกครองดังกล่าวมาเป็นเวลากว่าสองศตวรรษ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2450 พระคณะที่ปรึกษาแห่งรัฐ ผู้ปกครองจากมณฑลต่าง ๆ ตลอดจนตัวแทนประชาชนได้มารวมตัวกันที่เมืองพูนาคา และทำการเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ อูเก็น วังชุก (Ugyen Wangchuck) ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ปกครองเมืองตองซา (Trongsa) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของภูฏาน โดยดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์แรกแห่งราชวงศ์วังชุก (Wangchuck) เนื่องจากคุณสมบัติที่โดดเด่นของพระองค์ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งเป็น ผู้ปกครองเมืองตองซา ทรงมีลักษณะความเป็นผู้นำและเป็นผู้นำที่เคร่งศาสนาและมีความตั้งพระทัยแน่ว แน่ที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ราชวงศ์วังชุกปกครองประเทศภูฏานมาจนถึงปัจจุบันสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก (Jigme Khesar Namgyal Wangchuck) ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2549 เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก
ภูฏานจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นครั้งแรกในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2551 มีพรรคการเมืองสองพรรค
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
ประเทศภูฏานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เขตบริหาร (administrative zones - dzongdey) แต่ละเขตบริหารแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น มณฑล (districts - dzongkhag) รวมทั้งหมด 20 มณฑล ได้แก่
แผนที่แสดงมณฑลของประเทศภูฏาน
1. มณฑลบุมทัง (བུམ་ཐང་རྫོང་ཁག་ )
2. มณฑลชูคา (ཆུ་ཁ་རྫོང་ཁག་ )
3. มณฑลดากานา (དར་དཀར་ན་རྫོང་ཁག་)
4. มณฑลกาซา (མགར་ས་རྫོང་ཁག་)
5. มณฑลฮา ( ཧཱ་རྫོང་ཁག་)
6. มณฑลลฮุนต์ชิ (ལྷུན་རྩེ་རྫོང་ཁག་)
7. มณฑลมองการ์ (མོང་སྒར་རྫོང་ཁག་)
8. มณฑลพาโร (སྤ་རོ་རྫོང་ཁག་)
9. มณฑลเปมากัตเซล (པདྨ་དགའ་ཚལ་རྫོང་ཁག་ )
10. มณฑลพูนาคา (སྤུ་ན་ཁ་རྫོང་ཁག་)
11. มณฑลซัมดรุปจงคาร์ (བསམ་གྲུབ་ལྗོངས་མཁར་རྫོང་ཁག་ )
12. มณฑลซัมชิ (བསམ་རྩེ་རྫོང་ཁག་)
13. มณฑลซาร์ปัง (གསར་སྤང་རྫོང་ཁག་)
14. มณฑลทิมพู (ཐིམ་ཕུ་རྫོང་ཁག་ )
15. มณฑลตาชิกัง (བཀྲིས་སྒང་རྫོང་ཁག་)
16. เขตตาชิยังต์ซี (གཡང་རྩེ་རྫོང་ཁག་)
17. มณฑลตงซา (ཀྲོང་གསར་རྫོང་ཁག་ )
18. มณฑลชิรัง (རྩི་རང་རྫོང་ཁག་ )
19. มณฑลวังดีโพดรัง (པདྨ་དགའ་ཚལ་རྫོང་ཁག་ )
20. มณฑลเชมกัง (གཞལམ་སྒང་རྫོང་ཁག་)
[แก้] สัญลักษณ์ประจำชาติ
วัดป่าทักชัง - Taktshang Goemba หรือ "รังเสือ - Tiger Nest" อันเป็นที่เคารพสักการะยิ่งของชาวพุทธในภูฏาน ตั้งอยู่บนหน้าผาสูง 900 เมตรชายเขตเมืองปาโร
* สัตว์ประจำชาติ : ทาคิน เป็นสัตว์ที่หายาก เพราะมีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียว และอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ มีลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่ มีเขา ขนตามตัวมีสีดำ มักจะอาศัยอยู่กันเป็นฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร
* ต้นไม้ : ต้นสนไซปรัสนิยมปลูกตามวัด
* ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกป๊อปปี้สีฟ้า เป็นดอกไม้ป่าที่พบตามเขตภูเขาในภูฏาน
* อาหารประจำชาติ : อาหารพื้นบ้านเป็นอาหารเรียบง่าย อาหารหลักเป็นทั้งข้าว บะหมี่ ข้าวโพด ยังนิยมเคี้ยวหมากอยู่ อาหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยพริก ผักและมันหมู อาหารประจำชาติคือ emadate ซึ่งประกอบด้วยพริกสดกับซอสเนยต้มกับหัวไชเท้า มันหมูและหนังหมู ชาวภูฏานนิยมอาหารรสจัด เครื่องดื่มมักเป็นชาใส่นมหรือน้ำตาล ในฤดูหนาวนิยมดื่มเหล้าหมักที่ผสมข้าวและไข่ ไม่นิยมสูบบุหรี่ นอกจากนั้นมีอาหารจากทิเบต เข่นซาลาเปาไส้เนื้อ ชาใส่เนยและเกลือ และอาหารแบบเนปาลในภาคใต้ที่กินข้าวเป็นหลัก
* ธงชาติภูฏาน
o สีเหลือง ครึ่งบนของธงชาติ หมายถึง อำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นสีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
o สีส้ม ครึ่งล่างของธงชาติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมและความเลื่อมใสและศรัทธาของชาวภูฏานที่มีต่อศาสนาพุทธ
o มังกรที่อยู่ตรงกลางของธงชาติ หมายถึง ประเทศดรุกยุล มีความหมายว่าดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ตัวมังกรมีสีขาวบริสุทธิ์ อันเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของคนทุกเชื้อชาติ ทุกภาษาที่อยู่ในประเทศ ท่าทีที่มังกรกำลังอ้าปากคำรามนั้น แสดงออกถึงความมีอำนาจน่าเกรงขามของเหล่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งชายและหญิงที่ปก ป้องภูฏาน
[แก้] ภูมิศาสตร์
[แก้] ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศมีลักษณะเป็นเทือกเขา
ประเทศภูฏานเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก มีพื้นที่ประมาณ 38,394 ตารางกิโลเมตร (ขนาดใกล้เคียงกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์) ตั้งอยู่เหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย ภูฏานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ปรากฏภูมิประเทศ 3 ลักษณะ
1. เทือกเขาสูงตอนเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย
2. ที่ลาดเชิงเขา พบตอนกลางของประเทศ
3. ที่ราบ พบตอนใต้ของประเทศ มีแม่น้ำพรหมบุตรพาดผ่าน
[แก้] ภูมิอากาศ
เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ลักษณะภูมิอากาศจึงไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนมีฝนชุก ยกเว้นตอนเหนือซึ่งเป็นภูเขาสูง ทำให้มีอากาศแบบหนาวเทือกเขา
อากาศ กลางวัน 25 - 15 องศาเซลเซียส กลางคืน 10 - 5 องศาเซลเซียส มี 4 ฤดู คือ
* ฤดูใบไม้ผลิ จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและอาจมีฝนประปราย
* ฤดูร้อน จะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ช่วงนี้จะมีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม
* ฤดูใบไม้ร่วง จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ช่วงนี้อากาศจะเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส เหมาะแก่การเดินเขา
* ฤดูหนาว จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ อากาศจัดเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า และจะมีหมอกหนา บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม อาจมีหิมะตกบ้าง
[แก้] เศรษฐกิจ
สกุลเงินของภูฏานคืองุลตรัมซึ่งผูกค่าเงินเป็นอัตราคงที่กับรูปีอินเดีย และเงินรูปียังสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายอีกด้วย[4]
แม้ว่าภูฏานจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กที่สุดในโลก[4] แต่ก็มีอัตราการเติบโตที่สูงมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา (ร้อยละ 8 ในปี 2005 และร้อยละ 14 ในปี 2006) ในปี 2007 ภูฏานเป็นประเทศที่มีอัตราเติบโตสูงเป็นอันดับสองของโลกโดยมีอัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 22.4[5] ซึ่งเป็นผลจากการเริ่มใช้เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าทาลา[6][7]
รายได้หลักของประเทศ มากกว่าร้อยละ 33 ของจีดีพี มาจากการเกษตร และประชากรกว่าร้อยละ 70 มีวิถีชีวิตขึ้นอยู่กับผลิตผลทางการเกษตรด้วย สินค้าส่งออกสำคัญคือไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ซึ่งส่งออกไปยังอินเดีย
[แก้] ทรัพยากรธรรมชาติ
ในภูฏานมีพื้นที่ป่าถึง 60% มีอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 4 แห่ง และเขตสงวนธรรมชาติ 1 แห่ง คิดเป็น 35% ของพื้นที่ประเทศ ในพื้นที่ดังกล่าวมีสัตว์และพืชหายากมากกว่า 7,000 ชนิด มีกล้วยไม้เฉพาะถิ่น 300 เขต และพันธุ์ไม้หายากอีกราว 500 ชนิด และมีสมุนไพรหายากราว 150 ชนิด
[แก้] ประชากร
* จำนวนประชากร 752,700 คน (เมื่อปี พ.ศ. 2547) เป็นชาย 380,090 คน และหญิง 372,610 คน
* อัตราการเพิ่มของประชากรร้อยละ 2.14 (เมื่อปี พ.ศ. 2546)
* เชื้อชาติ ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่
o ชาร์คอป (Sharchops) ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออก
o งาลอบ (Ngalops) ชนเชื้อสายธิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก
o โลซาม (Lhotshams) ชนเชื้อสายเนปาล ส่วนใหญ่อยู่ทางใต้
* กลุ่มประชากรของภูฏาน แบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ คือ
o กลุ่มดรุกปา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
+ กลุ่มเชื้อสายธิเบต
+ กลุ่มซังลา ที่ถือว่ามีจำนวนมากที่สุด เนื่องจากจะแยกออกตามภาษาท้องถิ่นที่ใช้ที่มีประมาณ 11 ภาษา กลุ่มนี้จะอาศัยทางทิศตะวันออกของประเทศ
o กลุ่ม เนปาล คือส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ แต่ปัจจุบันนี้ทางรัฐบาลของประเทศภูฏาน ได้พยายามผลักดันให้ประชากรเหล่านี้กลับไปยังถิ่นฐานเดิมคือประเทศเนปาล
o กลุ่มชนอื่น ๆ อีก 13% คือชาวธิเบต ชาวสิกขิม และชาวอินเดีย
[แก้] วัฒนธรรม
การแข่งขันธนู เป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญของชาวภูฏาน
* ภาษาประจำชาติ คือภาษาซองคา ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เขียนด้วยอักษรทิเบต นอกจากนั้นมีการใช้ภาษาถิ่นที่ต่างไปในแต่ละพื้นที่ ภาษาของชาวภูฏานคล้ายภาษาทิเบตชาวเนปาลทางภาคใต้พูดภาษาเนปาลี ทางตะวันออกพูดภาษาชาชฮอป ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไป
* เครื่องแต่งกายประจำชาติ ผู้ชายเรียกว่า โฆ (Kho) ส่วนของผู้หญิงเรียกว่า ฆีระ (Khira)
* วันหยุดและเทศกาล
o วันหยุดที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ได้แก่วันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันฉัตรมงคล
o วันชาติ ตรงกับวันที่ 17 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันที่กษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์วังชุกขึ้นครองราชย์
o วันขึ้นปีใหม่ ขึ้นกับปฏิทินทางจันทรคติและแตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่นโดยทั่วไปในงานจะมีการ แข่งขันยิงธนู ไหว้พระ บูชาเทพเจ้า และรับประทานอาหารร่วมกันภายในครอบครัว
[แก้] ศาสนา
ประชาชนชาวภูฏานนับถือ ศาสนาพุทธนิกายมหายาน (ตันตรยาน หรือบ้างก็เรียกว่า วัชรยาน) 75% ศาสนาฮินดู 24% ศาสนาอิสลาม 0.7% และ ศาสนาคริสต์ 0.3%
ดูเพิ่มเติมได้ที่ พุทธศาสนาในประเทศภูฏาน
[แก้] อ้างอิง
1. ^ Gross domestic product 2007, PPP. World Development Indicators database, World Bank (2008-10-17).
2. ^ การเขียนและอ่านชื่อ ประเทศภูฏาน - ราชบัณฑิตยสถาน
3. ^ ชื่อประเทศ มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุตฺตาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง"
4. ^ 4.0 4.1 Bhutan:Economy. CIA The World Factbook.
5. ^ Rank Order - GDP - real growth rate. CIA The World Factbook.
6. ^ Power sales to India to fuel Bhutan's growth. The Hindu Business Line (2007-01-27). สืบค้นวันที่ 2008-11-29
7. ^ Tala Hydroelectric Project, Bhutan. power-technology.com. สืบค้นวันที่ 2008-11-29
* เมธา บรรณทัศน์. เปิดปูม คลายปม ภูฏาน. กทม. ชมรมเด็ก. 2550
[แก้] ดูเพิ่ม
* ธงชาติภูฏาน
* ฟุตบอลทีมชาติภูฏาน
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
Commons
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
ประเทศภูฏาน
* ประเทศภูฏาน ข้อมูลการท่องเที่ยวจากวิกิ ท่องเที่ยว
* เว็บไซต์ท่ารัฐบาลภูฏาน
* ภูฏาน: อารยธรรมแห่งสุดท้าย? บทความแนะนำภูฏานโดยคนชายขอบ
* ข้อมูลราชอาณาจักรภูฏานจากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น