วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ภูฎาน อาณาจักรแห่งหมู่เมฆา [ilastdeal]

ภูฎาน อาณาจักรแห่งหมู่เมฆา [ilastdeal]


อากาศใต้ร่มเงาของโจโมลารี ซึ่งเป็นเทือกเขาสูงที่สุดลูกหนึ่งของภูฏาน นั้นหนาวจนร้าวไปถึงกระดูก แต่ กอมเชน หรือนักพรตของหมู่บ้าน ผู้สวมเสื้อคลุมยาวที่โบกไสวกลางสายลม กลับภาวนาให้หิมะตก
     "ผมขอพรเทพเจ้าของเราอยู่เสมอให้หิมะตกเวลาที่มีคนนอกอย่างคุณเข้ามาในหุบ เขาของเรา พวกคุณจะได้ไปไกลๆ" เขาพูดพลางจ้องตาผมและยืนพิงราวบันได "คุณใช้ฟืนของเราจนหมดและไม่เคารพประเพณีของเรา"


     ในฐานะที่เป็นนักสิ่งแวดล้อมซึ่งปรารถนาให้แดนสวรรค์ของนักธรรมชาตินิยมคง อยู่อย่างที่เป็น ในฐานะดินแดนแห่งอากาศบริสุทธิ์ ป่าสนกลิ่นหอม และสัตว์ป่าหลากหลาย ผมเห็นด้วยกับสิ่งที่นักพรตผู้นี้คิด
     ผมนึกสงสัยว่า อาณาจักรแห่งเทือกเขาหิมาลัยอย่างภูฏานจะก้าวพ้นอดีตอันโบราณเข้าสู่โลกสมัย ใหม่ โดยไม่ต้องสละทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่าหรือขนบธรรมเนียมประเพณีเก่าแก่ที่ สืบทอดกันมาได้อย่างไร
     แต่ก็ไม่ทันมีเวลาคิดหาคำตอบ เพราะไม่ทันไร คำภาวนาของกอมเชนก็เป็นจริง เมฆรวมตัวบนท้องฟ้าและหิมะก็โปรยปรายลงมา ทีมงานของเราหาทางออกจากช่องเขาได้อย่างเฉียดฉิวในวันรุ่งขึ้น จากนั้นสภาพอากาศก็ทำให้หุบเขาพาโรตัดขาดจากภายนอกอีกครั้ง
     หิมะปกคลุมหุบเขาพาโรฉันใด ภูฏานก็มีเทือกเขาหิมาลัยช่วยปกป้องจากโลกภายนอกมาเนิ่นนานฉันนั้น ดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างจีนและอินเดียแห่งนี้มีพื้นที่ไม่ถึง 47,000 ตารางกิโลเมตร หรือพอๆกับสวิตเซอร์แลนด์ และภูฏานก็มีส่วนคล้ายสวิตเซอร์แลนด์ตรงที่พื้นที่ส่วนใหญ่โอบรอบด้วยภูเขา แต่ประเทศที่มีประชากรกระจัดกระจายอยู่ราว 700,000 คนนี้ กลับไม่ได้รับอิทธิพลจากโลกสมัยใหม่นัก แกะบูลชีพ ดอกป็อปปี้ป่า และเสือดาวหิมะเติบโตหรืองอกงามในหุบเขาอันโดดเดี่ยวเช่นเดียวกับเยติหรือ มนุษย์หิมะในตำนานต่างๆของชาวภูฏาน ที่นี่ยังเป็นดินแดนแห่งกล้วยไม้และเสืออีกด้วย ไม่นานก่อนหน้านี้ ผมเดินท่องป่าที่ระดับสูงกว่า 3,048 เมตร เสือตัวใหญ่ทิ้งรอยเท้าใหม่ๆไว้ให้เห็นเป็นทาง อันที่จริง เสือในแถบเอเชียใต้มักจะอาศัยอยู่ในป่าที่มีระดับความสูงต่ำกว่านี้ แต่ในภูฏาน มีผู้ยืนยันว่า เคยเห็นเสืออยู่ที่ระดับความสูงถึง 3,658 เมตร
     แม้กระทั่งในทิมพู เมืองหลวงของภูฏาน เราอาจเห็นหมีควายหรือหมูป่าในสวนหลังบ้าน เพื่อนคนหนึ่งเล่าว่า "เมื่อปีกลาย เมียผมออกไปดูว่าหมาเห่าอะไรและตกใจแทบแย่ที่ออกไปเจอเสือดำเข้า" บนถนนอันเงียบเหงาของทิมพูมีสุนัขมากกว่ารถยนต์ และมีสถานีบริการน้ำมันแค่สองแห่ง แม้ว่าพ่อค้าวาณิชจะเดินเท้าหรือขี่จามรีท่องดินแดนแถบนี้จนปรุมาหลายพันปี แล้ว แต่ภูฏานก็ใช้น้ำมันน้อยมาก จนกระทั่งปี 1962 เมื่อมีการสร้างทางหลวงสายแรกเพื่อเชื่อมทิมพูกับพุนโชลิงของอินเดีย
     ภายหลังการเปิดประเทศ แผ่นดินซึ่งชาวภูฏานเรียกว่า "ดรุกยูล" (ดินแดนแห่งมังกรอัสนี) ก็ก้าวเข้าสู่ความทันสมัย ขณะรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมตามวิถีพุทธศาสนานิกายมหายาน ที่ภูฏานและประเทศอื่นๆในแถบหิมาลัยเลื่อมใสศรัทธา

อ่านบทความ ภูฏาน ที่สนุกโดย sirwilliams ที่ sirwilliams blog

ไม่มีความคิดเห็น: